เราสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ
1. Click Tools เมื่อได้ค่าทอร์คที่ตั้งแล้ว ค่าทอร์คจะไม่เพิ่มขึ้นถ้าดึงเพิ่มอีกไม่เกิน 3 องศา หากมากกว่า 3 องศา ค่าทอร์คจะเพิ่มมากขึ้น.
2. Breaking Tools เมื่อได้ค่าทอร์คที่ตั้งแล้ว ค่าทอร์คจะไม่เพิ่มขึ้นถ้าดึงเพิ่มอีกไม่เกิน 20 องศา หากมากกว่า 20 องศา ค่าทอร์คจะเพิ่มมากขึ้น แบบที่ 2 นี้ป้องกันค่าทอร์คเกินดีกว่าแบบที่ 1.
3. Slipping Tools เมื่อได้ค่าทอร์คที่ตั้งแล้ว ค่าทอร์คจะไม่เพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้จะมีการดึงเพิ่มก็ตาม เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด และราคาก็แพงไปตามความสามารถมันด้วย.
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
CP & CPK (ต่อ)
Cpk = Performance Capability Indices ดัชนีความสามารถของกระบวนการด้านสมรรถนะที่กระบวนการเบี่ยงเบนไประยะสั้น จากสูตร Cpk = min((HI-AVE)/3(ค่าเบี่ยงเบน),(AVE-LO)/3(ค่าเบี่ยงเบน)) จะเห็นได้ชัดว่า Cpk จะพิจารณาทั้ง 2 ด้าน(HI & LO) ซึ่งต่างจาก Cp(ตัวอย่าง) ทำให้สามารถวิเคราะห์ความแม่นยำของกระบวนการได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งค่าของ Cpk ค่าควรอยู่ที่ >=1.33 ถ้าเป็นการตรวจวัดกระบวนการเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกระบวนการใหม่หรือเกี่ยวกับความปลอดภัยค่าควรอยู่ที่ >=1.5 ครับ.
วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553
CP & CPK
Cp = Potential Capability Indices ดัชนีความสามารถของกระบวนการด้านศักยภาพระยะสั้น ค่า Cp ได้จากการเก็บค่า Torque จำนวนหนึ่ง(25 ค่ากำลังดีครับ) ถ้าค่าเกาะกลุ่มจะทำให้ได้ค่า Cp สูง กราฟจะแคบ แต่ถ้าค่ากระจายค่า Cp จะต่ำ และกราฟจะกว้าง ซึ่งการใช้เพียงค่า Cp ตรวจวัดความสามารถของอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอเพราะถ้าเราดูกราฟที่ 2 และ 3 จะเห็นได้ว่าค่าจะเกาะกลุ่มทำให้ได้ค่า Cp สูงทั้งสองกราฟทั้งๆ ที่รูปตรงกลางไม่ได้ค่า Target Torque สูตรการหาค่า Cp = (HI-LO)/6*(ค่าเบี่ยงเบน) ซึ่งค่า Cp ควรมีค่าสูงกว่า 1.33 เมื่อทำเป็นกราฟแล้วจะมีความกว้างของฐานไม่เกิน 75% ของพื้นที่ทั้งหมด สำหรับค่า Cpk และการหาค่าเบี่ยงเบนไว้ต่อบทความหน้าครับ
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
Basic Tightening 5.1
ขอเสริมเรื่องของ Hard Joint และ Soft Joint อีกนิดหน่อยนะครับ จากกราฟของ Basic Tightening 3 มันแสดงออกมาในลักษณะของงานที่เป็น Hard หรือ Soft Joint แบบสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการขันไม่ใช่ว่าจะออกมาในรูปแบบนี้เสมอไป อาจจะมีงานที่ขันแล้วหมุนเกิน 30 อาศา ไปอยู่ที่ 60 องศา งานนี้ก็จัดเป็นประเภท Hard Joint เหมือนกันนะครับ แต่ค่าจะ Overshoot น้อยลง ซึ่งการเกิดขององศาในรูปแบบต่างๆ เกิดจากวัสดุที่เราต้องการขันมันเป็นหลักครับ ดังนั้นการเลือกวัสดุหรือวัตถุดิบก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การเลือกเครื่องมือในการขัน
ผมเคยได้กล่าวไปแล้วครับว่าการเลือกเครื่องมือที่ดีควรมีทั้งความแม่นยำ และความเที่ยงตรง ดูจากรูปนะครับซ้ายสุดจะเห็นว่าลูกธนูนั้นยิงกระจายไปทั่วเป้า แสดงให้เห็นว่า CP และ CPK ไม่ดีเป็นเครื่องมือวัดที่คุณภาพต่ำเวลาใช้งานค่าจะผิดเพี้ยนไปเรื่อย รูปถัดมาจะเห็นว่าธนูรวมที่จุดเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า CP นั้นดี แต่ CPK ไม่ดีมีความเที่ยงตรงแต่ไม่แม่นยำ ถ้าเป็นเครื่องมือวัดที่สามารถปรับตั้งให้สามารถเข้าเป้าได้จะถือว่าดี แต่ถ้าปรับตั้งไม่ได้ถือว่าค่อนข้างเสี่ยง รูปสุดท้ายลูกธนูยิงเข้าเป้าหมด มีทั้งความแม่นยำและเที่ยงตรง CP และ CPK ดี เป็นเครื่องวัดที่มีคุณภาพดีมาก และแน่นอนว่าราคาย่อมจะสูงมากตามไปด้วย
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Basic Tightening 5
บทความภาคต่อครับค่า Mean Shift คือค่าความแตกต่างของค่า Target Torque (ค่าเป้าหมายที่ต้องการ)ระหว่าง Hard & Soft Joint งานที่เป็น Hard Joint นั้น เมื่อทำการขันจะมีค่าสูงกว่าค่า Target Torque เพราะเกิดการ Over Shoot ขึ้น เนื่องจากองศาต่ำ ส่วนงานที่เป็น Soft Joint จะได้ค่า Target Torque ที่แม่นยำกว่าแต่จะมีโอกาส Low Torque เกิดขึ้น เพราะองศาที่ได้ค่า Torque จะยาวกว่ามาก อย่างไรก็ตามการเลือกเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำ และเที่ยงตรงสูงก็เป็นสิ่งที่สามารถทำให้ได้ค่า Target Torque ได้ง่ายขึ้นครับ
วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Basic Tightening 4
บทความภาคต่อเกี่ยวกับการแยกประเภทของการขันน็อตครับ จากบทความที่แล้วประเภทที่ 1 คือ แบบ Hard Joint ประเภทที่ 2 คือ แบบ Soft Joint ครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแบบ Soft Joint ให้พิจารณาอย่างนี้ครับ หลังจากจุด Snug แล้วหัวน็อตหมุนไปอีกมากกว่า 30 องศา แต่ไม่เกิน 720 องศา คือหลังจากหัวน็อตแนบกับชิ้นงานแล้วจะหมุนไปอีกไม่เกิน 2 รอบ ได้ค่า Target Torque เราจะเรียกลักษณะการขันแบบนี้ว่า Soft Joint ครับ ให้ดูรูปจากบทความที่แล้วประกอบครับ เรื่องของ Hard & Soft Joints ยังมีต่อบทความหน้าครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)