วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

CP & CPK (ต่อ)


Cpk = Performance Capability Indices ดัชนีความสามารถของกระบวนการด้านสมรรถนะที่กระบวนการเบี่ยงเบนไประยะสั้น จากสูตร Cpk = min((HI-AVE)/3(ค่าเบี่ยงเบน),(AVE-LO)/3(ค่าเบี่ยงเบน)) จะเห็นได้ชัดว่า Cpk จะพิจารณาทั้ง 2 ด้าน(HI & LO) ซึ่งต่างจาก Cp(ตัวอย่าง) ทำให้สามารถวิเคราะห์ความแม่นยำของกระบวนการได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งค่าของ Cpk ค่าควรอยู่ที่ >=1.33 ถ้าเป็นการตรวจวัดกระบวนการเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกระบวนการใหม่หรือเกี่ยวกับความปลอดภัยค่าควรอยู่ที่ >=1.5 ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

CP & CPK


Cp = Potential Capability Indices ดัชนีความสามารถของกระบวนการด้านศักยภาพระยะสั้น ค่า Cp ได้จากการเก็บค่า Torque จำนวนหนึ่ง(25 ค่ากำลังดีครับ) ถ้าค่าเกาะกลุ่มจะทำให้ได้ค่า Cp สูง กราฟจะแคบ แต่ถ้าค่ากระจายค่า Cp จะต่ำ และกราฟจะกว้าง ซึ่งการใช้เพียงค่า Cp ตรวจวัดความสามารถของอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอเพราะถ้าเราดูกราฟที่ 2 และ 3 จะเห็นได้ว่าค่าจะเกาะกลุ่มทำให้ได้ค่า Cp สูงทั้งสองกราฟทั้งๆ ที่รูปตรงกลางไม่ได้ค่า Target Torque สูตรการหาค่า Cp = (HI-LO)/6*(ค่าเบี่ยงเบน) ซึ่งค่า Cp ควรมีค่าสูงกว่า 1.33 เมื่อทำเป็นกราฟแล้วจะมีความกว้างของฐานไม่เกิน 75% ของพื้นที่ทั้งหมด สำหรับค่า Cpk และการหาค่าเบี่ยงเบนไว้ต่อบทความหน้าครับ

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

Basic Tightening 5.1

ขอเสริมเรื่องของ Hard Joint และ Soft Joint อีกนิดหน่อยนะครับ จากกราฟของ Basic Tightening 3 มันแสดงออกมาในลักษณะของงานที่เป็น Hard หรือ Soft Joint แบบสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการขันไม่ใช่ว่าจะออกมาในรูปแบบนี้เสมอไป อาจจะมีงานที่ขันแล้วหมุนเกิน 30 อาศา ไปอยู่ที่ 60 องศา งานนี้ก็จัดเป็นประเภท Hard Joint เหมือนกันนะครับ แต่ค่าจะ Overshoot น้อยลง ซึ่งการเกิดขององศาในรูปแบบต่างๆ เกิดจากวัสดุที่เราต้องการขันมันเป็นหลักครับ ดังนั้นการเลือกวัสดุหรือวัตถุดิบก็มีความสำคัญมากเช่นกัน