วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลือกเครื่องมือในการขัน


ผมเคยได้กล่าวไปแล้วครับว่าการเลือกเครื่องมือที่ดีควรมีทั้งความแม่นยำ และความเที่ยงตรง ดูจากรูปนะครับซ้ายสุดจะเห็นว่าลูกธนูนั้นยิงกระจายไปทั่วเป้า แสดงให้เห็นว่า CP และ CPK ไม่ดีเป็นเครื่องมือวัดที่คุณภาพต่ำเวลาใช้งานค่าจะผิดเพี้ยนไปเรื่อย รูปถัดมาจะเห็นว่าธนูรวมที่จุดเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า CP นั้นดี แต่ CPK ไม่ดีมีความเที่ยงตรงแต่ไม่แม่นยำ ถ้าเป็นเครื่องมือวัดที่สามารถปรับตั้งให้สามารถเข้าเป้าได้จะถือว่าดี แต่ถ้าปรับตั้งไม่ได้ถือว่าค่อนข้างเสี่ยง รูปสุดท้ายลูกธนูยิงเข้าเป้าหมด มีทั้งความแม่นยำและเที่ยงตรง CP และ CPK ดี เป็นเครื่องวัดที่มีคุณภาพดีมาก และแน่นอนว่าราคาย่อมจะสูงมากตามไปด้วย

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Basic Tightening 5

บทความภาคต่อครับค่า Mean Shift คือค่าความแตกต่างของค่า Target Torque (ค่าเป้าหมายที่ต้องการ)ระหว่าง Hard & Soft Joint งานที่เป็น Hard Joint นั้น เมื่อทำการขันจะมีค่าสูงกว่าค่า Target Torque เพราะเกิดการ Over Shoot ขึ้น เนื่องจากองศาต่ำ ส่วนงานที่เป็น Soft Joint จะได้ค่า Target Torque ที่แม่นยำกว่าแต่จะมีโอกาส Low Torque เกิดขึ้น เพราะองศาที่ได้ค่า Torque จะยาวกว่ามาก อย่างไรก็ตามการเลือกเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำ และเที่ยงตรงสูงก็เป็นสิ่งที่สามารถทำให้ได้ค่า Target Torque ได้ง่ายขึ้นครับ

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Basic Tightening 4

บทความภาคต่อเกี่ยวกับการแยกประเภทของการขันน็อตครับ จากบทความที่แล้วประเภทที่ 1 คือ แบบ Hard Joint ประเภทที่ 2 คือ แบบ Soft Joint ครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแบบ Soft Joint ให้พิจารณาอย่างนี้ครับ หลังจากจุด Snug แล้วหัวน็อตหมุนไปอีกมากกว่า 30 องศา แต่ไม่เกิน 720 องศา คือหลังจากหัวน็อตแนบกับชิ้นงานแล้วจะหมุนไปอีกไม่เกิน 2 รอบ ได้ค่า Target Torque เราจะเรียกลักษณะการขันแบบนี้ว่า Soft Joint ครับ ให้ดูรูปจากบทความที่แล้วประกอบครับ เรื่องของ Hard & Soft Joints ยังมีต่อบทความหน้าครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Basic Tightening 3


การแบ่งประเภทของการขันน็อตสามารถแบ่งออกได้จากผลของการขันเป็น 2 ประเภทคือ 1. แบบ Hard Joint จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแบบ Hard Joint ก็ให้เราดูจากมุมที่เกิดขึ้นหลังจากจุด Snug จุด Snug คือจุดที่หัวน็อตสัมผัสกับชิ้นงานที่ทำการขัน ซึ่งหัวน็อตจะหมุนไปไม่เกิน 30 องศา จะได้ค่า Torque หลังจากพบจุด Snug จะเรียกงานแบบนี้ว่า Hard Joint ครับ ส่วนอีกข้อไว้ต่อบทความหน้าครับ

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การดูเกรด Bolt, Screws และ Studs


เป็นบทความเพิ่มเติมจากบทความที่แล้วครับ การดูเกรดของ Bolt, Screws และ Studs การดูเกรดนั้นสามารถทำได้โดยให้เราดูที่บริเวณหัวของมัน หรือบริเวณตัวของมันจะมีบอกไว้ครับ รูปตัวอย่างจะเป็น Bolt M16 เกรด 12.9 ส่วนตัวหนังสือด้านบนจะเป็นสัญลักษ์จากบริษัทผู้ผลิต ส่วนความต่างของเกรดนั้นถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเนื้อเหล็ก และอุณหภูมิที่ผสมกันครับ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เลือกน็อตอย่างไรให้เหมาะสม


การเลือกน็อต (Bolt หรือ สกรู) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในจุดที่บังคับค่า Torque อาจหมายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปใช้งานหลังจากที่ทำการขัน Torque แล้ว ต่อไปนี้ผมจะเรียกว่าลูกค้าของเรานะครับ ดังนั้นการที่เราเลือก Bolt Grade ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ISO 898/1 ตัวอย่างตามตารางครับหน่วยเป็น(Nm) อาจได้ของที่ราคาถูกลง แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้น็อตขาด หรืออายุงานสั้นลงได้ ส่วนถ้าเกรดสูงๆ ราคาก็จะแพงขึ้น ดังนั้นควรพิจารณาความเหมาะสมให้ดีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Basic Tightening 2


ภาคต่อจากบทความแรกครับ ค่า Camping Force หรือ Camp Load ที่เกิดขึ้นจริงหลังจากทำการขันไปแล้วทำไม ผมถึงบอกว่าเครื่องมือวัดส่วนใหญ่ไม่วัดค่านี้กัน เพราะหลังจากที่เราทำการขันให้เกิดค่า Torque ค่าหนึ่ง แรงนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.แรงสูญเสียที่เรียกว่า Friction loss ใต้หัวน็อต 50% และที่เกลียวของน็อต 40%, 2. แรงจับชิ้นงานหรือ Camping Force คงเหลือประมาณ 10% ตัวอย่างคือถ้าขันค่า Torque 10 Nm จะได้ค่า Camping Force ประมาณ 1 Nm ครับ ส่วนอีก 9 Nm สูญเสียไปกับการเอาชนะความฝืด

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Torque กับ ประแจสั้น ประแจยาว


เป็นบทความนอกรอบครับ แต่ไม่นอกเรื่อง Torque = F * r (T = แรงบิดชิ้นงาน, F = แรงของเรา, r = ระยะทางความยาวของอุปกรณ์) ตัวอย่างง่ายๆ ครับ ถ้าต้องการ Torque 10 NM ใช้ประแจด้ามยาว 1 เมตร จะใช้แรงเท่ากับ 10 นิวตัน (ถ้านึกไม่ออกว่า 10 นิวตันมันประมาณไหนก็ให้เอาที่ดึงกิโลมาดึงครับ ดึงประมาณ 1 กิโลประแจหยุดที่ 1 กิโลเมื่อไหร่ก็ได้ 10 นิวตัน เพราะ 1 กิโล ประมาณ 9.8 นิวตัน) ถ้าใช้ประแจด้ามยาว 2 เมตร จะใช้แรงเท่ากับ 5 นิวตัน ใช้แรงน้อยกว่าประแจตัวที่ 1 แสดงภาพให้เห็นว่าค่า Torque ขึ้นอยู่กับแรงที่ตัวเรากระทำ และความยาวของประแจจะช่วยให้เราใช้แรงน้อยลง และถึงค่า Troque ได้ง่ายขึ้น

Basic Tightening 1


หลักการพื้นฐานของการขันน็อต คือการประกอบงาน 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน สิ่งที่เราต้องการจริงๆไม่ใช่ ค่า Torque แต่เป็น ค่า Camping Force หรือ Camp Load ที่สามารถจับยึดชิ้นงานไว้ได้ แต่เนื่องจากเครื่องมือวัดส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมด จะไม่อ่านค่าออกมาเป็นค่า Camp Load โดยตรง จึงต้องอ้างอิงจากค่า Torque ที่วัดได้จากเครื่องมือวัดชนิดต่างๆ เช่น Manual Torque เวลาขันจะแสดงค่า Torque (ดูได้จากรูป) หรืออาจจะเป็น Click Wrench, Air Tool และ Electric Tool เครื่องมือที่ยิ่งควบคุมค่า Torque ได้ดีจะยิ่งมีราคาแพงครับ

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทำไมต้องเรื่อง Torque


หลังจากที่ทำงานอยู่ในวงการนี้ยาวนานพอสมควรประมาณ 5-6 ปี ก็เลยอยากเขียนเรื่องของการขันน็อตบ้าง ตอนแรกที่ผมทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มองดูมันก็ไม่เห็นมีอะไรแค่งานขันน็อต แต่ไม่น่าเชื่อครับกับแค่งานขันน็อตมันทำให้ผมต้องใช้เวลาศึกษาอยู่นานกว่าจะเข้าใจหลักการของมัน จนถึงตอนนี้ผมก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเข้าใจทั้งหมดแล้ว แต่ผมคิดว่าประสบการณ์ที่ผมเจอมาจะช่วยให้หลายๆ ท่านที่เพิ่งเริ่มศึกษาสามารถเข้าใจ และไปได้เร็วมากขึ้นครับ